สวัสดีปีใหม่ค๊าบบ เรามาทำรู้จักเกี่ยวกับ Tme Code (TC) กันหน่อยมั้ยล่าาา

TC1

นี่คือรูปร่างและหน้าตาของ Time Code

จะประกอบด้วย ชั่วโมง:นาที:วินาที:เฟรม

เพื่อเป็นการบ่งบอกเวลา พิกัด, ช่วง, เวลารวม บน Time Line,เครื่องเล่น เครื่องบันทึก,ไฟล์ภาพ,เสียง

ทำไม ? ทำไม ? เราถึงต้องมารู้เรื่อง Time Code ด้วยล่ะ ?

… อืมมม Time Code นั้นส่วนใหญ่จะใช้ในงาน Video,Film,Motion Graphic,Sound

ซึ่งงานเหล่านี้หากมีการแก้ไขงานจะต้องใช้ Time Code เป็นตัวชี้พิกัด
จะทำให้แก้งานได้เร็ว ไม่เสียเวลากับการนั่งฟัง นั่งดูไปเรื่อยๆ ว่าตรงไหนเกิดปัญหา ต้องการแก้ไข เพิ่มเติม ตัดทอน และง่ายต่อผู้นำไปใช้งาน

Time Code มีหลายชนิด ใช้งานแตกต่างกันไป ในแต่ละระบบ เช่น

LTC
VITC
EBU
U-BIT
CTL
และอื่นๆ
————————————–
โอ้วว… อย่าเพิ่งไปสนใจครับ ฮ่าๆๆ

ดูที่เราคุ้นเคยก็ตามภาพข้างบนล่ะครับ..

และการตั้งค่า Time Code ในโปรแกรม Final Cut Pro 7 คือกด CMD 0 จะมีหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมา

เลือกแถบ Timeline Options

แล้วพิมพ์ค่า Time code ลงไป เช่น 00:00:00:00

Screen Shot 2556-01-16 at 2.09.56 PM

เท่านี้เราก็จะได้ Time Code ตามที่เราต้องการ

———————————————

การนำ Time Code Viewer ออกมาแสดง

กด Control T หรือ ตามภาพ

Screen Shot 2556-01-16 at 2.32.26 PM

Screen Shot 2556-01-16 at 2.32.41 PM

หน้าต่าง Time Code Viewer

——————————————————-

**Trick เล็กๆน้อยๆ ในการดู Time Code ระบบ NTSC ว่าเป็น Drop Frame หรือ Non Drop Frame**

การสังเกตแบบง่ายๆและรวดเร็ว ในการดูว่าฟุตวิดีโอที่ได้มานั่นเป็น Time Code แบบไหน

โดยตามมาตรฐาน Time Code จะมีอยู่ 2 อย่างคือ Drop Frame [DF]และ Non-Drop Frame[NDF]

วิธีการสังเกตคือ 1. สัญลักษณ์โคลอน[:] จะเป็นตัวแทน Non-Drop Frame[NDF]

Pasted-Graphic

2. สัญลักษณ์เซมิโคลอน[;] จะเป็นตัวแทน Drop Frame[DF]

Pasted-Graphic-1

ก็จะเป็นวิธีการสังเกตง่ายๆครับ

ส่วนใหญฟุตเทจที่จะเจอ Drop Frame หรือ Non Drop Frame นั้นจะเป็นระบบ NTSC
—————————————————————————————————–

Time Code มีประโยขน์อย่างมากในการทำงานทางด้าน Production ที่เกี่ยวกับสื่อ เป็นตัวช่วยบอกพิกัดในงาน

หากจะต้องนำมาแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ตัดออก พร้อมทั้งง่ายต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่น

และยังบอกเวลารวมในงานชิ้นนั้นๆ ว่ามีความยาวเท่าไหร่ กี่นาที เมื่อทำงานเสร็จควรจะจด Time Code

ในช่วงที่สำคัญๆ เช่น เรื่มต้น(เริ่มนาที ที่เท่าไหร่),เบรค, เช้าช่วงที่ 2 ประมาณนี้ (แต่ละคนแต่ละที่เขียนไม่เหมือนกัน ควรคุยกันให้เข้าใจ)

ตัวอย่าง เรากำหนดค่า Time Code ไว้ที่ 00:00:00:00

— เข้าช่วงแรก TC : 00:02:00:00 (In)
— จบช่วงแรก TC : 00:10:00:00 (OUT)
Duration 8 นาที

เป็นต้น
———————————-

ซึ่งในสายงานโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุ นับเวลาเกินกันเป็นเฟรมเลยทีเดียว ซึ่งทำให้เกินมูลค่าเพิ่มได้

ยังไงก็อย่าลืมให้ความสำคัญตรงนี้ด้วย แล้วเจอกันใหม่ครับ

6122 Comments